ขอเชิญนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดผลงานนวัตกรรม GPAS 5 Steps สำหรับเยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลง : Youth-Change Agents: GPAS 5 Steps Innovations Competition 2023
4 ส.ค. 66 15:24 น. 239 ครั้ง
นายปรัชญา รุ่งเรือง
พนักงานประชาสัมพันธ์

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นนำ ขอเชิญนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดผลงานนวัตกรรม GPAS 5 Steps สำหรับเยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลง : Youth-Change Agents: GPAS 5 Steps Innovations Competition 2023 ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1,000,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนออกแบบและสร้างผลงานนวัตกรรมใหม่ มีประโยชน์และคุณค่า พร้อมตอบสนองความต้องการพัฒนา หรือแก้ปัญหาในบริบทของชุมชนและสากล ยกระดับคุณภาพชีวิตหรือมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียนได้แสดงผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากความสามารถของตน และเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนักเรียน ครูผู้สอน และนักการศึกษาต่างสถาบัน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงศักยภาพของตนในการพัฒนาผลงานนวัตกรรมในอนาคตอันเป็นรากฐานสำาคัญของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ประเภทของผลงานนวัตกรรม GPAS 5 Steps

ผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม (Innovation for Society, Religion and Culture) ผลงานนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Innovation) ผลงานนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณค่าทางภาษาและการสื่อสาร (Innovation for Promoting Language Values and Communication) ผลงานนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและภาวะทางอารมณ์ (Innovation for Promoting Health and Emotional State) ผลงานนวัตกรรมด้านศิลปะ (Art Innovation) ผลงานนวัตกรรมทางการงานอาชีพและต่อยอดเชิงพาณิชย์ (Home Economics and Commercialization Innovation) ผลงานนวัตกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ (Mathematics Project Innovation) ระดับการประกวด

ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย เงื่อนไขในการส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกวด

แต่ละโรงเรียนสามารถส่งผลงานนวัตกรรมได้ประเภทละไม่เกิน 3 ผลงาน และสามารถส่งได้มากกว่า 1 ประเภท โดยส่งผลงานเป็นทีม นักเรียนทีมละ 3 คน มีครู-อาจารย์ผู้สอนเป็นที่ปรึกษาตามความเหมาะสม ผลงานนวัตกรรมแต่ละผลงาน จะต้องประกอบด้วย เอกสารประกอบ จำนวน 8-10 หน้า ใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 pt ในรูปแบบไฟล์ Word และไฟล์ PDF (ตามองค์ประกอบที่กำหนดในไฟล์แนบ) ภาพผลงานนวัตกรรมที่เห็นผลงานได้ชัดเจนทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน อย่างน้อย 3 ภาพ และภาพการดำเนินงาน (หลักฐานร่องรอยการปฏิบัติงานจริง) ในรูปแบบไฟล์ JPEG กรณีผลงานนวัตกรรมนั้นได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รอบถัดไป สิ่งที่ต้องส่งเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาตัดสิน ได้แก่ อินโฟกราฟิก 1 แผ่น ขนาด A3 ในรูปแบบไฟล์ PDF (ตามองค์ประกอบที่กำหนดในไฟล์แนบ) คลิปสรุปสาระสำคัญลักษณะผลงาน นำาเสนอแนวคิด ความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการทำางาน ร่องรอยการปฏิบัติงานจริง ความยาวไม่เกิน 3 นาที ในรูปแบบไฟล์วิดีโอ MP4 จำานวน 1 ไฟล์ โรงเรียนที่ส่งผลงานนวัตกรรมสามารถเป็นโรงเรียนทุกสังกัดที่จัดการศึกษารูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ผลงานนวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์และลงมือปฏิบัติของนักเรียนเอง ไม่ลอกเลียนผู้อื่น และไม่เคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานใดมาก่อน ผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) แต่ละชิ้นที่ส่งเข้าร่วมประกวด และผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในโครงการนี้ โรงเรียนยินยอมให้สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) เป็นผู้รวบรวม แก้ไขปรับปรุงโดยเฉพาะด้านกระบวนการ นำไปใช้ เผยแพร่ พิมพ์จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลนวัตกรรมและเผยแพร่เกียรติคุณของเจ้าของผลงานต่อไป การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นข้อยุติ กำหนดการดำเนินงาน

1-31 กรกฎาคม 2566 นักเรียนและครูผู้สอนที่จะส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกวด ส่งใบสมัครพร้อมกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มผ่านระบบออนไลน์ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2566 นักเรียนและครูผู้สอนส่งผลงานนวัตกรรม และเอกสารต่าง ๆ ตามเงื่อนไขการประกวดผ่านระบบออนไลน์ ตุลาคม 2566 คัดเลือกผลงานนวัตกรรมที่ผ่านเข้ารอบ พฤศจิกายน 2566 ตัดสินผลงานนวัตกรรม และสรุปผลการประกวด ธันวาคม 2566 จัดงานประกาศผล มอบรางวัล แสดงผลงานนวัตกรรม กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมในลักษณะการจัดแสดงนิทรรศการ ร่วมกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นเจ้าภาพร่วม เกณฑ์การพิจารณา

ผลงานตอบสนองต่อการแก้ปัญหา/ความต้องการ/พัฒนา ผลงานมีความเป็นนวัตกรรม ผลงานมีคุณภาพ ผลงานมีประโยชน์ มีคุณค่า และคุ้มค่า ผลงานเกิดขึ้นด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps รางวัลการประกวด (ต่อ 1 ประเภท และระดับการประกวด)

รางวัลชนะเลิศ โล่รางวัล เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ และเงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 โล่รางวัล เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ และเงินรางวัล จำนวน 15,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 โล่รางวัล เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ และเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท รางวัลชมเชย (2 อันดับ) โล่รางวัล เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ และเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท หมายเหตุ โรงเรียนที่ส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมการประกวดทุกผลงาน นักเรียน ครูที่ปรึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา จะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการ

ติดต่อสอบถาม หมายเลขโทรศัพท์ 0-2243-8000 ต่อ 5141, 5161, 6142 และ 6143